บทความทั่วไป

:: กะก๋าแนะนำหนังสือ ~ กบฏความคิด ::

กะว่าก๋า

 

 

:: กะก๋าแนะนำหนังสือ ~ กบฏความคิด ::




ผู้เขียน : กฤษณมูรติ

แปล : เจตน์ เจริญโท

















หนังสืออีกเล่มที่น่าอ่านมากสำหรับคนที่เป็นนักเรียน
นักศึกษา นักการศึกษา ครู และพ่อแม่

เนื้อหาภายในเล่มเป็นการพูดคุยถกประเด็นปัญหาต่างๆ
ระหว่าง "กฤษณมูรติ" กับ "นักเรียน" "ครู" และ "พ่อแม่"
ในโรงเรียนที่ประเทศอินเดีย


ประเด็นหลักที่ถูกหยิบยกมาพูดถึง คือ เรื่องของ “การศึกษา”
บทบาทของการศึกษา ปัญหาว่าด้วยอิสรภาพทางการเรียนรู้
อิสรภาพกับความรัก การฟัง
ความไม่พึงพอใจอันสร้างสรรค์ ความเต็มสมบูรณ์แห่งชีวิต
ความทะเยอทะยาน การคิดอย่างเป็นระเบียบ
และ จิตใจที่เปิดกว้าง


9 บทภายในหนังสือเล่มนี้
เต็มไปด้วยข้อคิด และแง่งามในการใช้ชีวิต


การศึกษาในความหมายของกฤษณมูรติ
จึงไม่ได้เริ่มต้นในห้องเรียน
และไม่ได้จบสิ้นที่สถานศึกษา

แต่คือการใช้ชีวิตด้วยการเรียนรู้
และรู้จักตนเองอย่างแท้จริง


การรู้จักตนเองที่จะนำเราไปสู่อิสรภาพทางการเรียนรู้
การอยู่ร่วมกับตนเองและผู้อื่นด้วยความรักและความเข้าใจ


การศึกษาที่แท้จริง
จึงมิได้เป็นเพียงการสะสมความรู้
ว่าใครจะรู้มากรู้น้อย รู้เร็วหรือรู้ช้า

หากแต่เป็นการศึกษาเพื่อค้นพบองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว
อย่างเข้าใจทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
เมื่อเข้าใจและเข้าถึงความรู้นั้นอย่างแท้จริง
ย่อมสามารถนำความรู้นั้นไปต่อยอดได้ไม่สิ้นสุด
ย่อมกระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่ใจและรักในการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต



นี่คือ หนังสืออีกเล่มที่พูดถึง “การศึกษา” ได้น่าสนใจมากครับ









หลายประโยคที่ผมชอบในหนังสือเล่มนี้
ขอนำมาฝากให้อ่านกันดูนะครับ






















































 

 

 

กล่องความคิดเห็น

การแสดงความคิดเห็นเปิดสำหรับสมาชิกเท่านั้น
ลงชื่อเข้าระบบสมาชิก หรือ สมัครสมาชิกใหม่